เงื่อนไข :-
เงินกู้สามัญแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
1. เงินกู้สามัญโดยใช้วงเงินค่าหุ้นค้ำประกัน
2. เงินกู้สามัญโดยการยื่นแบบฟอร์มตามลำดับ
3. เงินกู้สามัญโดยกรณีพิเศษ
หลักเกณฑ์เงินกู้สามัญ มีดังนี้
1. เงินกู้สามัญโดยใช้วงเงินค่าหุ้นค้ำประกัน
1.1 กู้ได้ร้อยละ 90 ของวงเงินค่าหุ้นค้ำประกัน
1.2 ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน
1.3 ไม่ต้องรอคิว ( จ่ายตามวันที่กำหนด )
2. เงินกู้สามัญโดยการยื่นแบบฟอร์มตามลำดับ
2.1 ข้าราชการและลูกจ้างที่ยังรับราชการไม่ครบ 5 ปี (ยังไม่มีสิทธิ์รับเบี้ยหวัดหรือบำเหน็จ) ให้ใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
2.1.1 ต้องเป็นสมาชิก สอ.อร. และส่งเงินค่าหุ้นครบ 1 ปี จึงจะมีสิทธิ์กู้ได้
2.1.2 เป็นสมาชิก สอ.อร. ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปถึง 2 ปี กู้ได้ 7 เท่าของเงินเดือน
2.1.3 เป็นสมาชิก สอ.อร. ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปถึง 3 ปี กู้ได้ 10 เท่าของเงินเดือน
2.1.4 เป็นสมาชิก สอ.อร. ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปถึง 5 ปี กู้ได้ 12 เท่าของเงินเดือน
2.1.5 วงเงินกู้ ตามข้อ 2.1.1 – 2.1.4 ต้องไม่เกิน 50,000 บาท และไม่เกิน 40% ของเงินเดือน ผ่อนชำระไม่เกิน 60 งวด
2.2 ข้าราชการและลูกจ้างที่เป็นสมาชิก สอ.อร. ที่มีสิทธิ์รับเบี้ยหวัดหรือบำเหน็จ ให้ใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
2.2.1 เป็นสมาชิก สอ.อร. ตั้งแต่ 6 เดือนถึง 12 เดือน กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 20 เท่า ของเงินได้รายเดือน
2.2.2 เป็นสมาชิก สอ.อร. ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปถึง 2 ปี กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 30 เท่า ของเงินได้รายเดือน
2.2.3 เป็นสมาชิก สอ.อร. ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปถึง 12 ปี กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 40 เท่า ของเงินได้รายเดือน
2.2.4 เป็นสมาชิก สอ.อร. ตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปถึง 25 ปี กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 50 เท่า ของเงินได้รายเดือน
2.2.5 เป็นสมาชิก สอ.อร. ตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 60 เท่า ของเงินได้รายเดือน
3. เงินกู้สามัญโดยกรณีพิเศษ มี 13 กรณี ดังต่อไปนี้
3.1 ที่พักอาศัยของสมาชิกประสบอัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถเข้าพักอาศัยได้ ให้กู้ได้เต็มตามจำนวนที่มีสิทธิ์
3.2 บิดาหรือมารดาของสมาชิกเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (คนไข้ใน) กู้ได้สูงสุด 30,000 บาท
3.3 สมาชิก สามี ภริยาและหรือบุตรของสมาชิกที่ถูกต้องตาม กฎหมาย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (คนไข้ใน) กู้ได้สูงสุด 2 5,000 บาท
3.4 บิดาหรือมารดาของสมาชิกที่ถูกต้องตามกฎหมายถึงแก่กรรม กู้ได้สูงสุด 30,000 บาท
3.5 สามี ภริยาหรือบุตรของสมาชิกที่ถูกต้องตามกฎหมายถึงแก่กรรม กู้ได้สูงสุด 30,000 บาท
3. 6 จัดการฌาปนกิจศพ บิดา มารดา สามี ภริยา และหรือบุตรของสมาชิกที่ถูกต้องตามกฎหมาย กู้ได้สูงสุด 25,000 บาท
3.7 สมาชิกถูกไล่ที่พักอาศัยโดยคำสั่งศาล กู้ได้สูงสุด 30,000 บาท
3.8 สมาชิกถูกฟ้องศาลจะถูกยึดทรัพย์ กู้ได้สูงสุด 25,000 บาท
3.9 ไถ่ถอนทรัพย์ที่จะถูกยึด กู้ได้สูงสุด 25,000 บาท
3.10 เป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของสมาชิกหรือบุตรของสมาชิก กู้ได้สูงสุด 35,000 บาท
3.11 ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เช่น ขับรถยนต์ส่วนตัวหรือรถแท็กซี่รับจ้างชนคนหรือชนรถผู้อื่น ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก กู้ได้สูงสุด 25,000 บาท
3.12 สมาชิกหรือบุตรของสมาชิกจะทำการอุปสมบท กู้ได้สูงสุด 25,000 บาท
3.13 สมาชิกหรือบุตรของสมาชิกจะมงคลสมรส กู้ได้สูงสุด 25,000 บาท
4 . การผ่อนชำระ
4.1 วงเงินกู้ยืมตั้งแต่ 20,000 - 50,000 บาท ผ่อนชำระได้ไม่เกิน 60 งวด
4.2 วงเงินกู้ยืมตั้งแต่ 51,000 - 150,000 บาท ผ่อนชำระได้ไม่เกิน 72 งวด
4.3 วงเงินกู้ยืมตั้งแต่ 151,000 - 500,000 บาท ผ่อนชำระได้ไม่เกิน 100 งวด
4.4 วงเงินกู้ยืมตั้งแต่ 510,000 - 1,000,000 บาท ผ่อนชำระได้ไม่เกิน 150 งวด
4.5 วงเงินกู้ยืมตั้งแต่ 1,01 0,000 - 1,500,000 บาท ผ่อนชำระได้ไม่เกิน 190 งวด
5. การผ่อนชำระตามข้อ 4
5.1 เงินได้สุทธิคงเหลือจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของเงินได้รายเดือน
5.2 สมาชิกจะต้องผ่อนชำระหนี้สินให้หมดก่อนเกษียณอายุราชการ หากผ่อนชำระไม่หมด วงเงินกู้ยืมที่เหลือในวันที่เกษียณอายุราชการ จะต้องไม่มากกว่าร้อยละ 90 ของวงเงินค่าหุ้นที่มีอยู่
6 . เงินกู้สามัญโดยใช้วงเงินค่าหุ้นค้ำประกัน จะมีสิทธิ์กู้เงินสามัญใหม่ได้ จะต้องผ่อนชำระเงินกู้สามัญเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 งวด โดยไม่เคยขาดชำระงวดใดงวดหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ของวงเงินกู้ยืมอย่างใดอย่างหนึ่ง
อนึ่ง ในกรณีที่สมาชิกได้กู้เงินไปไม่เต็มวงเงินกู้ยืม ( 90% ของทุนเรือนหุ้น) หากจะขอกู้เงินใหม่ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะอนุกรรมการเงินกู้
7. เงินกู้สามัญโดยการยื่นแบบฟอร์มตามลำดับ จะมีสิทธิ์กู้เงินสามัญใหม่ได้ จะต้องผ่อนชำระเงินกู้สามัญเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 งวด หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนงวดโดยไม่เคยขาดชำระงวดใดงวดหนึ่ง หรือครึ่งหนึ่งของวงเงินกู้ยืมอย่างใดอย่างหนึ่ง
8 . เงินกู้สามัญโดยกรณีพิเศษ จะมีสิทธิ์กู้เงินสามัญได้ใหม่ดังนี้
8 . 1 กู้เงินสามัญโดยกรณีพิเศษ จะมีสิทธิ์กู้ได้ต่อเมื่อผ่อนชำระเงินกู้สามัญเดิมแล้วไม่น้อยกว่า 4 งวด โดยไม่เคยขาดชำระงวดใดงวดหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ของวงเงินกู้ยืมอย่างใดอย่างหนึ่ง
8.2 เงินกู้สามัญโดยกรณีพิเศษนั้น จะอนุมัติเงินกู้ในวงเงินที่รับจริง โดยไม่เกินวงเงินที่มีสิทธิ์กู้สามัญโดยการยื่นแบบฟอร์ม
9 . การค้ำประกัน
9.1 ผู้ค้ำประกันเป็นสมาชิก สอ.อร. ที่ยังรับราชการอยู่ในกองทัพเรือ
9.1.1 ครบ 6 เดือน สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์รับเบี้ยหวัดหรือบำเหน็จ
9.1.2 ครบ 12 เดือน สำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์รับเบี้ยหวัดหรือบำเหน็จ
9.2 วงเงินในการค้ำประกัน จะต้องเท่ากับหรือมากกว่าวงเงินที่ผู้กู้มีสิทธิ์ตาม ข้อ 2
9.3 ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นผู้ที่มีเบี้ยหวัดหรือบำเหน็จหรือบำนาญ ไม่น้อยกว่า 1 คน
9.4 เงินกู้สามัญหากผู้กู้มีหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 30 ของวงเงินกู้ ผู้กู้จะต้องซื้อหุ้นเพิ่มครั้งละ 0.01 ของวงเงินกู้ยืม ยกเว้น เงินกู้สามัญมากกว่า 1,000,000 บาทขึ้นไป หรือเงินกู้ตั้งแต่ 40 เท่าของเงินได้รายเดือนขึ้นไป ผู้กู้จะต้องมีหุ้นไม่น้อยกว่า 20% ของวงเงินกู้ยืม หากวงเงินกู้ยืมตั้งแต่ 50 เท่าของเงินได้รายเดือนขึ้นไป จะต้องส่งค่าหุ้นรายเดือนไม่น้อยกว่า 10% ของเงินได้รายเดือน จนกว่าจะชำระหนี้สินหมด
10. สมาชิกที่เกษียณอายุราชการแล้ว
10.1 กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของวงเงินค่าหุ้นที่มีอยู่
10.2 มีสิทธิค้ำประกันได้ไม่เกินวงเงินค่าหุ้น
หมายเหตุ “ เงินได้รายเดือน ” หมายความว่า เงินเดือนหรือค่าจ้างประจำและเงินที่จ่ายควบกับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำ ซึ่งสมาชิกได้รับจากหน่วยงานเจ้าสังกัด และหมายถึงบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญซึ่งสมาชิกได้รับจากทางราชการด้วย
--------------------------------------------------------------------------
|